ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสกรูน็อต |
ข้อมูลพื้นฐานสกรู สกรู-น็อต ชิ้นส่วนเล็กๆที่สำคัญยิ่ง เราจะเห็นอยู่ทั่วไปหมดในความเป็นจริง สกรู-น็อต อยุ่ในสินค้าประเภท สลักภัณฑ์ ดังนั้นกลุ่มสินค้าประเภทนี้ยิ่งครอบจักรวาลไปใหญ่เพราะเป็นชิ้นส่วนที่ช่วยให้ของสองชิ้นขึ้นไปมายึดติดกันในรูปแบบต่างๆ แน่นบ้าง หลวมบ้างตามแต่จะออกแบบเพื่อการใช้งาน |
ข้อมุลพื้นฐานปลายเกลียว รูปร่างของส่วนปลายอีกด้าน ก็จะมีลักษณะต่างๆ เช่น ปลายเกลียวปกติ ปลายเกลียวปล่อย และปลายสว่าน เอาแค่สกรูอย่างเดียว ก็มีหลายประเภทแล้ว ดังนั้นเวลาจะเรียกจึงต้องระบุ รุปแบบ ประเภท ขนาด เกรด ให้ชัดเจน |
ข้อมุลพื้นฐานหัวน็อต ส่วนน็อต (Nut) จะหมายถึงน็อตตัวเมีย ซึ่งบางท่านจะเรียกว่าหัวน็อต ซึ้งมีลักษณะคล้ายแหวนมีรูตรงกลาง ภายในจะมีร่องเป็นเกลียว เพื่อที่จะสามารถหมุนเข้ากับสกรูได้ หัวน็อตมีหลายประเภท เช่น หัวน้อตหกเหลี่ยม หัวน็อตติดจาน หัวน็อตกลม เพราะฉะนั้นถ้าจะพูดว่าน็อตเฉยๆ แล้วไม่ระบุอะไรเพิ่มเติมก็จะเป็นอันเข้าใจว่า ต้องการหัวน็อตหกเหลี่ยม แต่แท้จริงแล้ว หัวน็อตนั้น มีรูปร่างหลากหลาย ซึ้งการใช้งานก็จะหลากหลายไปตามรูปแบบตามรูปร่างของมันด้วย เช่น หัวน็อตหกเหลี่ยม หัวน็อตติดจาน หัวน็อตหางปลา หัวน็อตล็อค (ซึ้งยังแยกเป็นสปริง กับ ไนล่อนอีกนะ) และยังมีอีกหลายประเภท |
ข้อมูลพื้นฐานสิ่งที่เราต้องรู้ในการเลือกใช้งานสกรุน็อต |
- สิ่งสำคัญเบื้องต้นที่เราต้องรุ้ในการเลือกใช้งานสกรูน็อตดังนี้ วัสดุที่ใช้ผลิต เช่น เหล็กกล้าเกรดต่างๆ สแตนเลสเกรดต่างๆ ทองเหลือง ไททาเนียม เป็นต้น เราต้องรู้ก่อนว่าคุณสมบัติของวัสดุที่เลือกมาใช้ เหมาะกับงานของเราหรือไม่ เพราะวัสดุแต่ละประเภทจะมีและความยืดหยุ่น ต่างกัน - รูปร่างของส่วนหัว ซึ้งมีด้วยกันหลายประเภท เช่น หัวหกเหลี่ยม หัวจม หัวจมเตเปอร์ หัวแฉก หัวติดแหวน หัวกลม หรือ หัวผ่าร่อง - รูปร่างของส่วนปลาย เช่น ปลายเกลียวปกติ ปลายเกลียวปล่อย และ ปลายสว่าน - ขนาดความโต ความยาว และเกลียวที่ต้องการโดยส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นเกลียวมิล และ เกลียวหุน - ขนาดหัวน็อต ประกอบด้วย ความโตระยะเกลียว |
ข้อมูลมาตรฐานสิ่งที่เราต้องรู้ในการเลือกใช้งานสกรูน็อต มาตรฐานสกรู และมาตรฐานหัวน็อตที่ใช้กันในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายมาตรฐานโดยอ้างอิงมาจากหลายประเทศ เช่น มาตรฐาน ASTM และ ANSI จากอเมริกา JIS จากญี่ปุ่น DIN จากเยอรมัน ISO จากยุโรป AS/NZS จากออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ และ มอก จากไทย ซึ้งเป็นงานที่มีรูปแบบชัดเจนจากวิศวะกรออกแบบ จะเป็นผู้คำนวณและระบุชนิด ขนาด ตลอดจนมาตรฐานของสกรูและน็อต ที่ต้องการใช้กับงานนั้นๆไว้อย่างละเอียด เช่น งานโครงสร้างอาคาร งานประกอบสิ้นส่วนอุตสาหกรรมเป็นต้น |
ข้อมูลพื้นฐานการวัดขนาดสกรูน็อต |
การวัดขนาดสกรู-น็อต เข้าใจว่าหลายท่าน อาจจะสับสนระหว่างการวัดขนาดของสกรูน็อตกับการหาอุปกรณ์มาขันน็อต การวัดค่าสกรูน็อต สิ่งที่ต้องคำนึงถึง เป็นอย่างแรกก็คือเกลียว เพราะลำพังเกลียวเองก็มีหลายแบบ ออกแบบตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน |
ลักษณะของเกลียว มี 2 แบบคือ 1.เกลียวทรงกระบอก 2.เกลียวเรียว ลักษณะทรงกรวย |
ขนาดรูเจาะนำ สำหรับสกรูเกลียวปล่อย |
A3 | |||||
สำหรับชิ้นงานไม้ | ||||||
Screw Diametor : | #2 |
#4 |
#6 |
#8 |
#10 |
#12 |
Soft Woods : | 1/32" |
3/64" |
1/16" |
5/64" |
3/32" |
7/64" |
Hard Woods : | 3/64" |
1/16" |
5/64" |
3/32" |
7/64" |
1/8" |
สำหรับชิ้นเหล็ก
|
|||
เหล็กแผ่น |
เหล็ก / สแตนเลส / ทองเหลือง / อลูมิเนียม |
||
SCRES |
METAL THICKNESS |
PIERCED OR EXTRUDED HOLE |
DRILLED OR CLEAN-PUNCHED HOLE |
#4 |
0.5 |
- |
2.2 |
0.6 |
2.5 |
2.4 |
|
0.8 |
2.5 |
2.4 |
|
0.9 |
2.5 |
2.5 |
|
#6 |
0.5 |
- |
2.64 |
0.6 |
2.8 |
2.64 |
|
0.8 |
2.8 |
2.64 |
|
0.9 |
2.8 |
2.64 |
|
#7 |
0.5 |
- |
2.9 |
0.6 |
3.05 |
2.9 |
|
0.8 |
3.05 |
2.9 |
|
0.9 |
3.05 |
2.9 |
|
1.22 |
3.05 |
3.05 |
|
#8 |
0.5 |
- |
3.2 |
0.6 |
3.45 |
3.2 |
|
0.8 |
3.45 |
3.2 |
|
0.9 |
3.45 |
3.2 |
|
1.22 |
3.45 |
3.3 |
|
#10 |
0.6 |
4.0 |
3.4 |
0.8 |
4.0 |
3.4 |
|
0.9 |
4.0 |
3.4 |
|
1.22 |
4.0 |
3.4 |
|
#12 |
0.6 |
4.7 |
4.1 |
0.8 |
4.7 |
4.1 |
|
0.9 |
4.7 |
4.1 |
|
1.22 |
4.7 |
4.1 |